เคมี

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวทางเคมี

กลุ่มเกษตรกรปลูกผัก ขอบคุณ นายกฯ ประยุทธ์ เข้าใจวิถีเกษตร พร้อมประสานภาครัฐเปิด ราชบุรีโมเดล พิสูจน์ปลูกผักใช้สารเคมีไม่อันตราย


กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--
เครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง และกลุ่มเกษตรปลูกผัก ยื่นหนังสือขอบคุณ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านคณะกรรมการวัตถุอันตราย ในการพิจารณาอย่างรอบคอบ ที่จำกัดการใช้ 3 สารเคมี พร้อมประสานความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ เปิด "ราชบุรีโมเดล" พิสูจน์การปลูกผักใช้สารเคมีไม่อันตรายนางสาวอัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง เปิดเผยว่า "หลังจากที่ได้มีมติจำกัดการใช้ 3 สารเคมีได้แก่ สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพรีฟอส ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย สำหรับการพิจารณาอย่างรอบด้าน บนพื้นฐานข้อเท็จจริง แหล่งข้อมูลทางวิชาการ ห้องปฏิบัติการกลางที่มีเครื่องมือตรวจสอบและได้รับมาตรฐานสากล สอดคล้องกับประสบการณ์จริงของเกษตรที่ไม่เคยประสบปัญหาด้านสุขภาพตามข้อกล่าวอ้างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้ง ผลการตรวจสอบวิเคราะห์ดินและน้ำจากหนองบัวลำภู โดยความร่วมมือจากกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ไม่พบการตกค้างของสารพาราควอต จึงไม่อยากให้ผู้บริโภคตื่นตระหนก ที่สำคัญ เกษตรกร ก็คือ ผู้บริโภคคนหนึ่งเหมือนกัน"

อ่านต่อได้ที่ : Ryt9

ข่าวทางเคมี


พบสารเคมีตกค้าง ‘อาหารกลางวัน’ สูงถึง 63% หวั่นส่งผลต่อไอคิวเด็กนักเรียน



แม้เด็กไทยจะสามารถเข้าถึงอาหารกลางวันได้มากขึ้นแต่ยังมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพ มีการสำรวจตัวอย่างผักผลไม้จาก 34 โรงเรียนใน 4 จังหวัด พบจาก 335 ตัวอย่าง มีถึง 210 ตัวอย่างที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคคิดเป็นสัดส่วนสูง 63% นอกจากนี้ยังพบสารตกค้างในวัตถุดิบปรุงอาหารอย่าง 'สารฟอกขาว ผงกรอบ และฟอร์มารีน' รวมถึงมีการศึกษาว่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้มีผลต่อการทำลายพัฒนาการทางสมองของเด็ก ด้าน UNICEF ระบุว่าการปกป้องเด็กจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นสิ่งที่ภาครัฐและเอกชนทั่วโลกต้องร่วมกันทำอย่างเร่งด่วน
การรณรงค์ให้บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลืออาหารกลางวันเด็กในโรงเรียน เป็นโครงการที่มีให้เห็นตามพื้นที่สื่อต่าง ๆ มาตลอด ทั้งโดยองค์กรการกุศล องค์กรเอกชน ไปจนถึงหน่วยงานรัฐ  แม้ว่าที่ผ่านมาเด็กไทยจะสามารถเข้าถึงอาหารกลางวันได้มากขึ้น แต่กลับพบว่าอาหารเหล่านั้นมีสารอาหารไม่ครบตามโภชนาการ และยังตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในอาหาร ซึ่งเป็นสารที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับการทำลายพัฒนาการทางสมองของเด็ก
อ่านต่อได้ที่:Tcijthai

ข่าวทางเคมี

กสร. เตือนนายจ้างแจ้งข้อมูลอันตรายให้ลูกจ้างรู้ หากให้ทำงานกับสารเคมี


กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายทราบและเข้าใจวิธีการในการทำงานที่ถูกต้อง พร้อมย้ำลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือที่นายจ้างจัดทำเพื่อความปลอดภัย

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556 กำหนดให้นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบและเข้าใจวิธีการในการทำงานที่ถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าว ในการนี้ให้นายจ้างจัดทำคู่มือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติและขั้นตอนในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย คำแนะนำลูกจ้างเกี่ยวกับการป้องกันอันตราย ความหมายของข้อมูลที่มีบนฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตรายด้วยจึงขอให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนจะมีความผิดโดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านต่อได้ที่ :Ryt9






ข่าวทางเคมี

สำรวจรายได้บริษัทนำเข้าสารเคมี หลังลือ “อ.ยักษ์” ถูกเด้งเซ่นต้าน 3 สารพิษ


จากกรณีที่มีกระแสข่าวเด้ง นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อ.ยักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังเปิดศึกต้านการใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต, ควอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต นั้น
ล่าสุดได้รับการยืนยันจากนายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ไม่เป็นความจริงพร้อมยืนยันว่า อ.ยักษ์ ยังทำงานตามปกติ
ก่อนหน้านี้ อ.ยักษ์ ได้ลั่นวาจาว่า “ผมทำงานเดิมพันด้วยชีวิต ไม่ใช่ด้วยตำแหน่ง แผ่นดินต้องไร้สารพิษในพื้นที่เกษตรกร 4-5 ล้านไร่ กำหนดไว้ 5 ปีสิ้นสุดปี 2564” ซึ่งหากดูประวัติของ อ.ยักษ์ จะพบว่าเคยเป็นอดีตข้าราชการที่ผันตัวไปทำเกษตรอินทรีย์ตามศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 นั่นเอง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าอุดมการณ์ของ อ.ยักษ์ ที่จะผลักดันให้เกษตรกรไทยทั่วประเทศหันมาทำเกษตรอินทรีย์นั้นมีมากขนาดไหน
อ่านต่อได้ที่:Sanook

ข่าวทางเคมี

4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"


โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ เผยผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรเสี่ยงโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี แนะสวมอุปกรณ์ป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัส หากมีอาการระคายเคือง หรือผดผื่นให้รีบไปพบแพทย์

โรคผิวหนัง จากสารเคมี

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือหากสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรงโดยไม่มีเครื่องป้องกัน จะทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดผื่นคันภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอาจเป็นโรคผิวหนังได้

อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี

อาชีพที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากสารเคมีได้แก่
  1. คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์
  2. คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
  3. คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก
  4. เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช
อ่านต่อได้ที่:Sanook

ข่าวทางเคมี

ชาวบ้านร้อง กลิ่นสารเคมีลอยทั่วหมู่บ้าน จนท.พบขยะพิษกว่า 1,000 ตัน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายรณภพ เวียงสิมมา นายอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมกับ พ.ต.อ.อภิชาต พุทธบุญ ผู้กำกับการ สภ.เมืองราชบุรี และ นายจำนง จันทรวงศ์ ปลัดอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ราชบุรี เข้าตรวจสอบบริษัท มิราเคิล เลเธอร์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ 9 ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า โรงงานของบริษัทดังกล่าว ได้มีกลิ่นโชยออกมาจากโรงงานเหม็นไปทั่วบริเวณ อีกทั้งยังมีแรงงานต่างด้าวมาทำงานอยู่ด้วย
จากการตรวจสอบ พบแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก กำลังทำงานอยู่ภายในโรงงาน จึงได้เข้าควบคุมตัวไว้ แต่มีบางส่วนหลบหนีไปได้ โดยสามารถควบคุมตัวมาสอบสวน จำนวน 43 คน แบ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมา จำนวน 32 คน โดยทั้งหมดไม่มีบัตรมาแสดงตัวตน อ้างว่าบัตรอยู่ที่นายจ้าง และยังพบแรงงานชาวจีนอีก 11 คน ซึ่งทั้งหมดอ้างว่ามีบัตรพาสปอร์ต เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาดูกระบวนการทำงานของบริษัท เพื่อจะนำไปปรับใช้กับระบบอุตสาหกรรมในประเทศของตนเอง เจ้าหน้าที่จึงนำตัวแรงงานทั้งหมดตรวจสอบว่า มีการเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ ยังพบว่าภายในโรงงานมีเครื่องจักรกล มีสายพานลำเลียงขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิล ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พลาสติก และแผงไฟ ที่มีการคัดแยกแล้วบางส่วน และอยู่ระหว่างการเตรียมคัดแยกที่กองไว้และที่บรรจุในถุงรวมแล้วมากกว่าหนึ่งพันตัน โดยบางส่วนถูกนำมาบดอัด และทำเป็นเม็ดพลาสติก
อ่านต่อได้ที่:Sanook

ข่าวทางเคมี

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”


การไฟฟ้าแม่เมาะแจงเหตุสารเคมีรั่วไหล คือ กรดไฮโดรคลอริก  เมื่อถูกน้ำจะเกิดเป็นไอมีกลิ่นฉุน ตามมาตรการด้านความปลอดภัย จึงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย
นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชี้แจงถึงกรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม มีกระแสข่าวว่า เกิดเหตุสารไซยาไนด์รั่วภายในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 4-7 และมีการอพยพคนงานออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยกฟผ. ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สารเคมีดังกล่าวไม่ใช่สารไซยาไนด์
ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ปรับสภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้ามีการรั่วซึม ได้ดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยเร่งด่วนจนสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติเรียบร้อย เจ้าหน้าที่และคนงานกลับเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ พร้อมยืนยันว่าไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 (MMRP1) พบเหตุ “กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ” รั่วไหลในปริมาณเล็กน้อยระหว่างการทดสอบระบบ จึงได้ให้คนงานที่อยู่ในรัศมี 10 เมตร ออกไปอยู่ที่จุดรวมพล เพื่อความปลอดภัย และเป็นการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 1
กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ เป็นสารเคมีที่มีไว้ใช้สำหรับปรับสภาพน้ำที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพก่อนน้ำไปใช้ในระบบ
ที่มา:Sanook